asd
28.2 C
Nakhon Sawan
วันเสาร์, กันยายน 7, 2024
spot_img

สภาพัฒน์ฯ เปิดตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 67 ขยายตัวร้อยละ 2.3 และยังคงติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่สองของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาส 1/2567

 

ด้านการผลิต

ภาคเกษตร ลดลงร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของผลผลิตพืชหลัก เช่น ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา และหมวดประมงลดลงเช่นกัน ขณะที่ผลผลิตสุกรและสัตว์ปีกขยายตัว

ภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.6 ประกอบด้วย

– กลุ่มอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.8 ปัจจัยสำคัญ มาจากสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาเหมืองแร่ และเหมืองหินขยายตัว ขณะที่สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ และสาขาการประปาและการกำจัดของเสียชะลอลง

– กลุ่มบริการ ขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาส 1/2567 เป็นผลจากการขยายตัวของสาขาศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ สาขา

กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนอื่น ๆ ขณะที่สาขาการขายส่งและการขายปลีก การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารชะลอลง สอดคล้องกับการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว ขณะที่สาขาก่อสร้างลดลงทั้งภาครัฐและเอกชน

เศรษฐกิจไทย 6 เดือนแรก (มกราคม – มิถุนายน 2567) ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อเนื่องจาก (กรกฎาคม – ธันวาคม 2566) การขยายตัวร้อยละ 1.6

 

ด้านรายจ่าย

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลง จากการขยายตัวร้อยละ 6.9 ในไตรมาส 1/2567 เป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยการใช้จ่ายฯ ในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว สินค้าไม่คงทน และหมวดบริการชะลอตัว ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลง

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.1 ในไตรมาส 1/2567 เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 0.8 และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวร้อยละ 6.9 ขณะที่ค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 3.8

การลงทุน ลดลงร้อยละ 6.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาส 1/2567 โดยการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.3 ปัจจัยหลักมาจากการลงทุนรัฐบาลลดลงร้อยละ 12.8

การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 10.1 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 6.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาส 1/2567 ปัจจัยสำคัญมาจากการลงทุนด้าน การก่อสร้าง และการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือที่ลดลงร้อยละ 5.4 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 147.8 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 203.1 พันล้านบาท และดุลบริการขาดดุล 55.3 พันล้านบาท

สศช. แนะการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567

  1. การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ
  2. การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญ ดังนี้

2.1 การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ

2.2 การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย

2.3 การเร่งรัดโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ

2.4 การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง

  1. การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.1 การตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้มาตรการและวิธีการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ

3.2 การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้า

3.3 การดำเนินการอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำความผิดลักลอบนำเข้าสินค้าที่ผิดกฎหมาย

  1. การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs
  2. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว
  3. การเตรียมการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  4. การเร่งรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) และการเตรียมความพร้อมของปัจจัย แวดล้อมด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ
  5. การเตรียมมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบและใช้ประโยชน์จากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการค้าโลก

ติดตามเราที่

149แฟนคลับชอบ
spot_img

ข่าวลาสุด