ผู้อ่านสวรรค์นิวส์และสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์…………………………………………………….. @เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 นายวีรวุฒิ บำรุงไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ ครั้งที่ 2/2567 โดยมี ทันตแพทย์สุพจน์ หวังปรีดาเลิศกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ กล่าวเปิดการประชุม ได้รับเกียรติจากนายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโส สภาอุตสาหกรรมประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมประชุมด้วย พร้อมกับประธาน คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาจากสมาชิกในพื้นที่ ทั้งนี้ เจ้าภาพการจัดประชุม นางสาวพญา ธาราวุฒิ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก นำทีมคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก ร่วมต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม มีดังนี้
- ความคืบหน้าโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ SME ด้วย Soft Power ของ 4 กลุ่มจังหวัด
- การจัดงาน FTI CHIANGMAI – Gift Fair 2024
- สรุปการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2
- สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา
- ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
– การเยียวยาอุตสาหกรรมและ SME น้ำท่วมจากรัฐบาล
– การเข้าถึงแหล่งทุนภาคอุตสาหกรรมและ SME ตามนโยบายของทางรัฐบาล
– การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล1
…………………………………………………….. @ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถามโครงการสำรวจค่าจ้างภาคอุตสาหกรรม ปี 2567 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 วัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลแนวโน้มโครงสร้างค่าจ้างภาคอุตสาหกรรม ในปี 2568 สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม
- ผลสำรวจค่าจ้างภาคอุตสาหกรรมปี 2567
- รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง “ถอดบทเรียนสำคัญ : 10 ประเด็นที่นายจ้างต้องรู้ เพื่อความสำเร็จในยุคปัจจุบัน” โดยอาจารย์ไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น กรรมการสายงานแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พิเศษ! 50 ท่านแรก รับฟรี! หนังสือ “20 สาระ กฎหมายแรงงานที่นายจ้างและลูกจ้าง ไม่รู้ไม่ได้” สามารถตอบแบบสำรวจได้ที่ : https://forms.gle/MYFhJuRQ3MwXUa96A สอบถามเพิ่มเติม ศรัณยา โทร. 02-345-1035 / 086-625-4687 ณรงค์เดช โทร. 02-345-1034 / 080-075-0060
……………………………………. @ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมลงนามการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตประจำโรงงานด้วยองค์ความรู้ด้าน Digital และ Automation เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 นายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตประจำโรงงานด้วยองค์ความรู้ด้าน Digital และ Automation เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ร่วมกับ รศ.ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และนายสมชาย จักร์กรีนทร์ ผู้อำนวยการสถาบันไทย – เยอรมัน ณ ห้องประชุมสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
การลงนาม MOU ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนา Internal SI ในภาคอุตสาหกรรม ให้มีองค์ความรู้ด้าน Digital และ Automation เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม 4.0 การร่วมมือระหว่าง ส.อ.ท. กับสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาและมีนโยบายในอนาคตเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่ออุตสาหกรรม” จะช่วยให้สามารถนำองค์ความรู้จากโรงงานมาเทียบกับระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ลดการเรียนตามกรอบภาคการศึกษา เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้เรียนในทุกช่วงวัยสอดรับการเรียนยุคใหม่ และสำหรับสถาบันไทย – เยอรมัน ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะทาง มีความพร้อมในการสนับสนุนด้านวิทยากร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ภายใต้ความร่วมมือนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการยกระดับและพัฒนากำลังคนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยต่อไป
……………………………………. @สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท). มัดรวมมาให้แล้ว! การวางแผนและฟื้นฟูโรงงานจากเหตุการณ์อุทกภัย
- ทำอย่างไรก่อน ระหว่าง และหลังเกิดอุทกภัย (ฉบับโรงงานอุตสาหกรรม)
http://reg3.diw.go.th/…/uploads/2021/10/pr01102564-1.pdf
- การล้างทำความสะอาดตู้แช่โดนน้ำท่วม โดยทีมช่างชำนาญการ (จากกลุ่มฯ ไฟฟ้า – Toshiba)
- แนวทางและขั้นตอนการดูแลสินค้าที่โดนน้ำท่วม (จากกลุ่มฯ ไฟฟ้า – Toshiba)
- การฟื้นฟูโรงงาน
https://youtu.be/NvzcXDoj7IU?si=SCwm1zBnXdf-kQJt https://youtu.be/apBAUqtrnvs?si=OMG4qPAkymSijoVv
- เทคนิคการเช็คซ่อมตู้คอนโทรล
- เช็คซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วมให้กลับมาใช้งานได้
- เช็คซ่อมเต้ารับไฟฟ้าและเบรกเกอร์ที่ถูกน้ำท่วม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม CALL CENTER : 1453
……………………………………………………. @ E-Catalog ฉบับพิเศษ จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ช่วยเหลือผู้ประกอบการฟื้นฟูหลังอุทกภัย รวบรวมมาตรการและเทคนิคสำคัญ ช่วยโรงงานและธุรกิจให้กลับมาผลิตได้อีกครั้ง รวบรวมแนวทางการฟื้นฟูโรงงาน เทคนิคการดูแลฟื้นฟูเครื่องจักรหลังน้ำลด และเเนวทางปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหกรรม แพ็กเกจบริการและสินค้าราคาพิเศษจากกลุ่มอุตสาหกรรม มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับผู้ประสบอุทกภัย แนวทางการปฏิบัติเมื่อเอกสารบัญชีเสียหาย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/ftifloods2024 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1453 ต่อ 1106
…………………………………. @นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลง จาก 89.3 ในเดือนกรกฎาคม 2567 โดยมีปัจจัยด้านลบจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศ 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม 2567) อยู่ที่ 354,421 คัน หดตัวร้อยละ 23.71 โดยเฉพาะรถกระบะและรถบรรทุก เนื่องจากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ขณะที่กำลังซื้อยังเปราะบางจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 90.8 ต่อ GDP ในไตรมาสที่ 2/2567 ซึ่งกดดันการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ทั้งค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ รวมถึงต้นทุนทางการเงิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงปัญหาการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้สินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่า ส่งผลให้ยอดขายสินค้าลดลง
นอกจากนี้ ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางได้สร้างความเสียหายให้แก่ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงส่งผลให้ภาคก่อสร้างชะลอตัวลง ในด้านการส่งออกอัตราค่าระวางเรือ (Freight) ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางสหรัฐฯ และยุโรป จากการเร่งส่งออกของจีนและสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่รุนแรงขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วจากระดับ 36.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกรกฎาคม 2567 เป็น 34.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนสิงหาคม 2567 ส่งผลให้สินค้าไทยแพงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งและส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม ยังมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง ทำให้นักลงทุนและผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น และมีความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง (ผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 เบิกจ่ายได้ร้อยละ 81.6) ทั้งนี้ ภาคการท่องเที่ยว ยังเป็นแรงสนับสนุนการบริโภคในประเทศ
จากมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวของภาครัฐ สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 เดือน (มกราคม – สิงหาคม 2567) มีจำนวน 23,567,850 คน ขยายตัวร้อยละ 31 (YoY) สร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่า 1,107,985 ล้านบาท
จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,330 ราย ครอบคลุม 46 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในเดือนสิงหาคม 2567 พบว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจโลก ร้อยละ 67.5 เศรษฐกิจในประเทศ ร้อยละ 65.2 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 61.3 อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 40.6 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ ร้อยละ 56.0 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 45.8 ตามลำดับ
ขณะที่ดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับตัวลดลงจาก 95.2 ในเดือนกรกฎาคม 2567 โดยมีปัจจัยที่ผู้ประกอบการยังห่วงกังวล ได้แก่ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ปัญหาหนี้เสีย (NPL) มีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ยังยืดเยื้อและรุนแรงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาท และในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 คาดว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคัก
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 1.เร่งประกาศและสร้างความชัดเจนในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567 อาทิ มาตรการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน เป็นต้น
2.ปรับลดวงเงินประกันการใช้ไฟฟ้าเพื่อเสริมสภาพคล่องในภาคอุตสาหกรรม และชะลอการเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม กรณีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในรอบปีสูงขึ้น รวมทั้งทบทวนลดเพดานวงเงินการประกันการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม
3.ปรับปรุง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (CVD) มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (SG) และมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดระยะเวลาการพิจารณาไต่สวน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสินค้าทุ่มตลาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว
4.ออกมาตรการเยียวยาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย อาทิ ยกเว้นภาษีนิติบุคคล ขยายเวลาการยื่นภาษี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร รวมทั้งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำและระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาว
5.ขอให้ภาครัฐยึดมติคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด ในการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยที่ส่งผลกระทบในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ส.อ.ท. ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปี จัดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของ ส.อ.ท. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถเข้าไปใช้บริการข้อมูลดังกล่าวได้ที่ https://fti.or.th/DataCenter/Industry-data-space ส.อ.ท. มุ่ง “เสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม (Strengthen Thai Industries for Stronger Thailand)”
…………………………………….. @ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ ขอประชาสัมพันธ์สินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม
สินเชื่อเสือติดปีก : วงเงิน 1,500 ล้านบาท
– วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท
– อัตราดอกเบี้ย 3-5 คงที่
– ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี
– ปลอดชำระคืนเงินต้น 12 เดือน
สินเชื่อคงกระพัน : วงเงิน 700 ล้านบาท
– วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท
– อัตราดอกเบี้ย 5-7 คงที่
– ระยะเวลากู้สูงสุด 3 ปี
**ทั้ง 2 โครงการนี้จะช่วยให้คุณ**
เพิ่มสภาพคล่อง
ลงทุนขยายกิจการ
เสริมศักยภาพทางการแข่งขัน
ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถลงทะเบียนและยื่นคำขอสินเชื่อ ผ่านช่องทาง Online ได้ที่ https://i.industry.go.th/ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสุอังสา ภักดี กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ โทร. 093-1375990……………………………………….@หน่วยงานที่มีข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนครสวรรค์สามารถฝากข่าวผ่านสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ หรือต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ ติดต่อสอบถามได้ที่ นายชาณัฐธนพล แสงสุข ผู้จัดการสำนักงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ โทรศัพท์056-245497,081-0428 934 โทรสาร056-245 498 e-mail: [email protected], https://www.facebook.com/Nakhonsawan.fti