34.5 C
Nakhon Sawan
วันศุกร์, พฤษภาคม 23, 2025
spot_img

สภาอุตสาหกรรมฯ สัมพันธ์

ผู้อ่านสวรรค์นิวส์และสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์……………………………………. @ วันนี้คุณเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แล้วหรือยัง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เสริมสร้างความเข้มแข็ง และยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย ให้แข่งขันได้ในระดับสากล ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรม 4GO     1. GO Digital & AI ยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์

  1. GO Innovation สร้างผู้ประกอบการ “จิ๋วแต่แจ๋ว” ด้วยนวัตกรรม
  2. GO Green ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและบรรลุเป้าหมาย Net Zero
  3. GO Global พัฒนามาตรฐานสากล เชื่อมโยง Global Supply Chain และขยายโอกาสสู่ตลาดโลก

สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก

ชำระค่าสมาชิกรับ E-Coupon 30%  (เฉพาะสมาชิกประเภทสามัญ) เพื่อใช้เป็นส่วนลด ร่วมกิจกรรมและบริการต่างๆ ของ ส.อ.ท. (ลดสูงสุด 50%)

FTI e-Member Card รับสิทธิส่วนลดร้านอาหาร ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน และผลิตภัณฑ์/บริการจากสมาชิกสู่สมาชิก

ออกใบรับรอง (APEC Card, E-C/O, Made in Thailand)

สร้างโอกาสธุรกิจ (Business Matching, ร้านค้าออนไลน์ B2B และ E-Commerce)

เสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม (DeepTech Startup Connext, Thailand i4.0 CheckUp)

สนับสนุนสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Carbon Credit, FTI Climate Change Clinic, ECO Factory)

เข้าร่วม Executive Program (Young FTI, BRAIN, ตลาดทุน)

ลดต้นทุนบริษัทกับโครงการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี และ FTI Academy ศูนย์กลางความรู้การยกระดับทักษะบุคลากร

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย พร้อมรับสิทธิประโยชน์ เพื่อให้ธุรกิจของคุณไปได้ไกลกว่าเดิม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ FTI Contact Center : 1453, www.fti.or.th, LineOA: @ftithailand, Facebook: www.facebook.com/TheFederationOfThaiIndustries

……………………………………………………. @ ปัญหาในที่ทำงาน…แก้ยังไงก็ไม่จบ มาเสริมสร้างแนวคิดแบบมืออาชีพ กับการอบรม “กลยุทธ์การแก้ปัญหาอย่างมืออาชีพ” อบรมฟรี! มี Workshop จริง สอนวิธีหาต้นตอปัญหา + คิดสร้างสรรค์ ได้ทั้งความรู้และของที่ระลึก (เฉพาะ Onsite) ในวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2568 เวลา 13.00 – 17.00 นาฬิกา อบรมในรูปแบบ Hybrid (Onsite @ ส.อ.ท. / Online ผ่าน Zoom) ลงทะเบียนได้ที่ : https://forms.gle/qEuWyV8t2nNizywC9 โดยสามารถติดต่อรับข้อมูลข่าวสารได้ที่  https://www.facebook.com/share/7nv5NmRBoYHXYbKV/?mibextid=LQQJ4d

…………………………………. @  เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (ฉบับที่…) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญ กระทรวงแรงงาน เสนอว่า

  1. ปัจจุบันลูกจ้างที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพราะถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2547 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ดังนั้นเพื่อบรรเทาภาระการดำรงชีพของผู้ประกันตนจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงเห็นสมควรปรับเพิ่มให้ผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม
  2. ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและปรับปรุง พัฒนาเกี่ยวกับขอบข่ายความคุ้มครองประกันสังคม การจัดเก็บเงินสมทบและการพัฒนาสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายวัน และให้ได้รับครั้งละไม่เกิน 180 วัน เพื่อเสนอคณะกรรมการประกันสังคมพิจารณา
  3. ต่อมาในคราวประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 14) ครั้งที่ 18/2567 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง ในอัตราดังกล่าวตามข้อ 2 ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงาน เห็นชอบการแก้ไขร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว
  4. กระทรวงแรงงาน จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2567 โดยปรับเพิ่มอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง จากอัตรา “ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงาน เพราะเหตุถูกเลิกจ้างฯ” เป็น “ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้างฯ” ทั้งนี้ ให้ได้รับครั้งละไม่เกิน 180 วันเช่นเดิม
  5. การปรับเพิ่มอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เพราะเหตุถูกเลิกจ้างตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยประมาณการรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราเงินทดแทนดังกล่าว ประมาณ 1,035.40 ล้านบาทต่อปี (แต่ละปีจะเพิ่มขึ้นตามร้อยละของเงินเดือนหรือค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการจ่ายเงินทดแทนคิดจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง) อย่างไรก็ดี จากข้อมูลการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ประกันภัย การปรับเพิ่มเงินทดแทนดังกล่าวจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มจากร้อยละ 0.53 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 0.62 ของค่าจ้าง ซึ่งยังคงน้อยกว่าเงินสมทบที่จัดเก็บ รวมถึงกองทุนประกันสังคมยังสามารถรองรับวิกฤตสถานการณ์ว่างงาน สูงกว่าปกติ 4 เท่า เป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี 6 เดือน ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสถานะของกองทุนประกันสังคม

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีว่างงาน

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  2. มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th/) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
  4. ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th/) ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  5. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
  6. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  7. ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ดังนี้ ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง / จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย / ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง / ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร / ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง / ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา / ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ ย้ำกองทุนฯ มีเสถียรภาพมั่นคง พร้อมต่อยอดดูแลผู้ประกันตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี…………………………………….. @ กกร. ประมาณการณ์จีดีพีที่ 2.0-2.2% เร่งรัฐเจรจาสหรัฐฯ ลดภาษี ถ้าไม่สำเร็จหวั่นยิ่งลดกว่านี้ นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยมีนายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานสภาหอการค้าไทย และนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ร่วมชี้แจง สงครามการค้ากดดันเศรษฐกิจโลกปี 2568 โตต่ำกว่าคาด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเติบโตของจีดีพีโลกปี 2568 ลงจาก 3.3% เหลือ 2.8% พร้อมเตือนว่าการกีดกันทางการค้าจะส่งผลให้ปริมาณการค้าโลกเติบโตเพียง 1.7% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าช่วง European crisis เมื่อปี 2554

    มาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ กดดันภาคการส่งออก รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและ SME ภาษีศุลกากรที่สหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บจะกระทบสินค้าส่งออกหลายกลุ่ม หากถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ที่อัตรา 36% มูลค่าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ อาจจะหายไปสะสมประมาณ 1.4 ล้านล้านบาทภายใน 10 ปี นอกจากนี้ยังเพิ่มแรงกดดันต่อกลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกจ้างประมาณ 3.7 ล้านคน และ SME เกือบ 5 พันราย ซึ่งต่างมีข้อจำกัดในการปรับตัวต่อภาวะผันผวนที่รุนแรงขึ้น

    คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 68 จะขยายตัวที่ 2.0-2.2% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 2.4-2.9% ปัจจัยหลักจากผลกระทบของมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยประเมินภายใต้สถานการณ์ที่ไทยถูกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ที่อัตรา 10% ในช่วงไตรมาส 2/68 (หลังมีการเลื่อนขึ้นภาษีเต็มรูปแบบออกไป 90 วัน) และอัตราภาษีในครึ่งปีหลังยังอยู่ที่ 10% ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปีเติบโตเพียง 0.3-0.9% จากประมาณการเดิมที่ 1.5-2.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำที่ 0.5-1.0% ลดลงจากประมาณการเดิมเช่นกัน แต่ถ้าไทยถูกเรียกเก็บภาษีที่อัตรา 36% ในครึ่งปีหลัง จีดีพีปี 68 จะโตเพียง 0.7%-1.4% เหตุจากการส่งออกทั้งปีอาจหดตัวได้มากถึง -2% ทั้งนี้ ปัจจัยลบจากสงครามการค้าสามารถก่อให้เกิดหลุมรายได้ขนาดใหญ่ถึง 1.6 ล้านล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อลดภาษีให้สำเร็จ ประกอบกับยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในภาวะที่ตลาดสินค้ามีการแข่งขันรุนแรงขึ้น

    กกร. สนับสนุนภาครัฐในการดำเนินแนวทางการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากสถานการณ์เบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion) จากมาตรการขึ้นภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) เพื่อช่วยปกป้องผู้ประกอบการภายในประเทศไทยที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายจากการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งภาครัฐจะต้องบูรณาการความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออก มีการใช้ระบบดิจิทัล e-Government เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ ติดตาม และเฝ้าระวังสถานการณ์สินค้านำเข้าจากการเบี่ยงเบนทางการค้า รวมทั้งมีการปรับกระบวนการ โดยให้ภาครัฐสามารถเริ่มเปิดไต่สวนได้ทันทีหากพบว่ามีการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติเพื่อให้สามารถป้องกันผลกระทบได้ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ กกร. ยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์สินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ โดยนายกรัฐมนตรีได้มีการหารือร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าฯ ถึงแนวทางการเพิ่มความเข้มงวดในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form C/O ทั่วไปของไทยให้มากขึ้น ซึ่งเห็นชอบร่วมกันว่าในช่วงเข้มงวดนี้ จะให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่จะออกหนังสือรับรอง Form C/O ทั่วไป สำหรับรายการสินค้าเฝ้าระวังสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันกรมการค้าต่างประเทศ มีการประกาศรายการสินค้าเฝ้าระวังแล้ว จำนวน 65 รายการ เพิ่มขึ้นจากเดิม 49 รายการ

    กกร. มองว่า นอกเหนือจากการที่ไทยจะต้องเร่งเจรจากับสหรัฐในเรื่องการปรับลดกำแพงภาษีแล้ว       ยังต้องติดตามผลการเจรจาของประเทศคู่แข่งของไทย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งหากประเทศเหล่านี้สามารถเจรจาขอยกเว้นหรือลดอัตราภาษีนำเข้าได้ต่ำกว่าไทย ก็อาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้ ขณะเดียวกันการที่สหรัฐฯ และจีนได้ส่งสัญญาณที่จะเตรียมการเจรจาเพื่อคลายความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสองประเทศ ก็เป็นสัญญานบวกต่อการค้าโลก

    กกร. มีความกังวลต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว มาอยู่ในช่วง 32.5-32.7 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าระดับที่ธุรกิจแข่งขันได้  โดยมองว่าควรให้ความสำคัญกับการดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าหรือผันผวนเร็วจนเกินไป และการสื่อสารฯเชิงรุกเพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถรับรู้และปรับตัวได้ทันการณ์ อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีการส่งผ่านประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็ง เช่นต้นทุนนำเข้าสินค้าพลังงาน และวัตถุดิบโดยเฉพาะในภาคเกษตรฯ ที่ลดลงไปยังภาคการผลิตและภาคประชาชนให้ได้อย่างเป็นระบบ

    ในขณะนี้ สภาผู้แทนราษฎรอยู่ระหว่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่..) พ.ศ…. ซึ่งมีแก้ไขปรับปรุงกระบวนการฟื้นฟูกิจการของกิจการขนาดย่อม (กิจการที่มีหนี้ไม่เกิน 50 ล้านบาท) โดยเพิ่มเติมการฟื้นฟูกิจการโดยเร่งรัดและเพิ่มเติมการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้บุคคลธรรมดา ซึ่งสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติที่จะปรับปรุงดังกล่าวส่งผลกระทบในวงกว้าง และมีบางประเด็นเป็นหลักการใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้ในประเทศไทยมาก่อน จึงควรมีการศึกษาผลดีผลเสียของการใช้ระบบดังกล่าว รวมถึงกลไกที่คุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อย่างรอบด้าน เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจของประเทศได้  นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาลดความรับผิดของผู้ค้ำประกันลงอันเป็นผลจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของระบบการประกันหนี้ด้วยบุคคล ทำให้ กกร. มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อวินัยทางการเงินและการเข้าถึงสินเชื่อใหม่ของกิจการ SMEs ซึ่งไม่มีทรัพย์สินมาเป็นประกัน รวมถึงต้นทุนเครดิตของลูกหนี้สูงขึ้น ดังนั้นการปรับปรุง พรบ. ดังกล่าว จึงควรมีการพิจารณาและศึกษาถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน

    …………………………………….@ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมลงนามโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพคนพิการและผู้ดูแลคนพิการสู่ความยั่งยืน เมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2568 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มอบหมายให้นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธาน ส.อ.ท. เข้าร่วมพิธีเปิดและลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพคนพิการและผู้ดูแลคนพิการสู่ความยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

    การลงนามครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 14 หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ได้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมการจัดหางาน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย รวมถึงสมาคมคนพิการต่างๆ เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย) สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย และสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

    การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ส.อ.ท. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลไปยังสมาชิกผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมการจัดหางานและการบรรจุงานให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีอาชีพที่มั่นคง และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในสังคมต่อไป……………………………………….@ โอกาสเติบโตในสายงานผลิตมาแล้ว สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) รับสมัครผู้สนใจ สอบประเมินสมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการบริหารในสายการผลิตระดับค่อนข้างสูง (Upper-intermediate Level) กำหนดสอบวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 13.30 – 16.00 นาฬิกา สอบออนไลน์ผ่าน Zoom ด้วยระบบ CBT (Computer Based Test) ปิดรับสมัครวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2568 ลงทะเบียนสอบประเมิน  https://forms.gle/RTLKdSfEQE7PA1hN9 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://drive.google.com/…/1IhZrq_BDhJdGX7UHk3… อัตราค่าลงทะเบียน บุคคลทั่วไป 750 บาท (ไม่รวม VAT)  พิเศษ! ผู้ผ่านหลักสูตร Supervisor ขั้นเทพ เหลือเพียง 550 บาท (ไม่รวม VAT) สนใจสมัคร หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 090-050-6706 LINE: @hcbi อีเมล: [email protected]

    …………………………………@ขอเชิญสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อพัฒนาแพลทฟอร์มการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม ตามที่สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีแผนพัฒนาแพลทฟอร์มสำหรับใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนผู้ประกอบการในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม

    จึงขอความร่วมมือจากท่าน ร่วมตอบแบบสอบถาม เพื่อให้ข้อมูลและความคิดเห็นเป็นประโยชน์ในการออกแบบและพัฒนารูปแบบแพลทฟอร์มให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

    ข้อมูลจากแบบสอบถามนี้จะนำไปสู่

    ✅ การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้งานง่าย

    ✅ การส่งเสริมให้เกิดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรม

    ✅ การสร้างระบบที่เอื้อต่อการรายงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)

    สามารถตอบแบบสอบถามได้โดยสแกน QR Code หรือคลิกที่ https://forms.office.com/pages/responsepage.aspx… ………………………………….@ หน่วยงานที่มีข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนครสวรรค์สามารถฝากข่าวผ่านสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ หรือต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ ติดต่อสอบถามได้ที่ นายชาณัฐธนพล  แสงสุข ผู้จัดการสำนักงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ โทรศัพท์ 056-245497,081-0428 934 โทรสาร 056-245 498 e-mail: [email protected], https://www.facebook.com/Nakhonsawan.fti

บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป

ติดตามเราที่

149แฟนคลับชอบ
spot_img

ข่าวลาสุด